พิณ

พิณ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายแบบหนึ่ง มีหลายชนิดแตกต่างตามท้องที่ ในภาคอีสานของประเทศไทย พิณอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น “ซุง” หรือ “เต่ง” จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปมี 3 สาย ในบางท้องถิ่นอาจมี 2 หรือ 4 สาย บรรเลงโดยการดีดด้วยวัสดุทีเป็นแผ่นบาง เช่นไม้ไผ่เหลา หรืออาจใช้ปิ้กกีตาร์ดีดก็ได้ สมัยก่อนจะเล่นเครื่องเดียวเพื่อเกี้ยวสาว ปัจจุบันมักใช้บรรเลงในวงดนตรีโปงลาง วงดนตรีลำซิ่ง หรือวงดนตรีลูกทุ่ง

สาเหตุหนึ่งที่แอดมินขอหยิบเครื่องดนตรีชิ้นนี้ขึ้นมาเขียนเป็นอันดับแรก ก็เพราะด้วยเหตุผลส่วนตัวครับ เพราะว่ามักหรือชอบมาตั้งแต่ตอนสมัยเด็กๆที่พ่อได้ประดิษฐ์พิณขึ้นมาจากไม้อัด แล้วก็เอาสายเบรครถจักรยานมาทำเป็นสายพิณ ตัดไม้ไผ่มาเหลาเป็นแท่งทำเป็นเฟสของพิณ พ่อเพิ่นเล่นให้ฟังแล้วเราก็รู้สึกชอบ บางที่ก็ขอมาลองหัดเล่น ก็เลยติดชอบเสียงพิณมาตั้งแต่ตอนนั้นเลย
หลังๆมาพิณก็เริ่มมีการพัฒนาไปมากจากเมื่อก่อนจะมีพิณโปร่ง เริ่มนำคอนแทร็คแบบกีต้าไฟฟ้ามาติดเข้ากับพิณ กลายเป็นพิณไฟฟ้าและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และนอกจากจะพัฒนากลายเป็นเครื่องดนตรีไฟฟ้าแล้วรูปแบบตัวพิณก็มีความสวยงาม และหลากหลายแบบ ส่วนมากที่เราเห็นก็จะมีพิณที่ออกแบบเป็นหัวพญานาค

ลักษณะของพิณอีสาน 

  1. ตัวพิณ ทำจากไม้ที่มีน้ำหนักเบา คือ ไม้ขนุน  ไม้ประดู่  เพราะให้เสียงที่ทุ้มกังวาน มีน้ำหนักเบา ตัวพิณที่มีขนาดใหญ่และลึกจะมีเสียงดังกว่าตัวพิณที่มีขนาดเล็กและตื้น   

  2. คอพิณ  ทำจากไม้เนื้อแข็ง  ลักษณะคล้ายกับคอของกีตาร์
                                            
  3. ขั้นแบ่งเสียง ทำจากซี่ไม้ไผ่แบน ๆ หันด้านผิว ขึ้นรองรับสาย ยึดติดคอพิณด้วยขี้ผึ้งเหนียวสีดำ
  4. สายพิณ  ทำจากลวดเส้นเล็กๆ แต่แข็ง  ปัจจุบันนิยมจึงมาใช้สายกีตาร์แทน  

                                             

พิณในประเทศไทยมีมากมายหลายชนิด เช่น

1. พิณน้ำเต้า เป็นพิณสายเดียวทำด้วยไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ 75 เซนติเมตร ปลายข้างหนึ่งทำด้วยโลหะ หล่อเป็นลวดลาย สำหรับขึงสายสวมติดไว้ ด้านตรงข้ามมีลูกบิด ทำด้วยไม้เนื้อแข็งสอดไว้ กล่องเสียงทำด้วยผลน้ำเต้าแห้ง มีเชือกรัดสายพิณ ซึ่งทำด้วยโลหะ ให้คอดตรงบริเวณ ใกล้กล่องเสียง ใช้บรรเลงด้วยการดีดด้วยนิ้วมือ เวลาบรรเลงจะใช้กล่องเสียงประกอบกับอวัยวะของร่างกาย เช่น หน้าอกหรือท้อง มีเสียงเบามากสามารถทำทางเสียง (Harmonic) ได้ด้วยการเทียบเสียงไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวแล้วแต่ผู้บรรเลงจะพอใจเพราะใช้บรรเลงโดยเอกเทศ พิณน้ำเต้านี้จัดอยู่ในประเภทพิณชีตเตอร์

2.พิณเพียะ มีลักษณะคล้ายพิณน้ำเต้า แต่พิณเพียะทำเพิ่มขึ้นเป็น 2 สายและ 4สายก็มีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษลูกปิดยาวประมาณ18 เซนติเมตร ใช้เชือกคล้องสายผูกโยงไว้กับทวน สำหรับเร่งเสียงเหมือนกันพิณน้ำเต้า กะโหลกก็ทำด้วยเปลือกลูกน้ำเต้าตัดครึ่งลูกก็มี ทำด้วยกะลามะพร้าวก็มีเวลาดีดก็เอากะโหลกประกบติดไว้กับหน้าอก ขยับเปิดปิดเพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวานตามต้องการ เช่นเดียวกับดีดพิณน้ำเต้าในท้องถิ่นภาคเหนือในอดีตผู้เล่นมักจะดีดคลอขับร้องของตนเอง และนิยมเล่นในขณะที่ไปเที่ยวเกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในเวลาค่ำคืน พิณเพียะนี้จัดอยู่ในประเภทพิณชีตเตอร์

3.กระจับปี่ เป็นเครื่องดีดประเภทพิณ กล่องเสียงทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรงขนาดประมาณ25 x 40เซนติเมตร มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้ามีคันทวนค่อนข้างยาวประมาณ 100เซนติเมตร มีลูกปิดตอนบนสำหรับขึ้นสาย 4 ลูก ขึ้นสายเป็น 2 คู่ เสียงเท่ากันมีนมตั้งเสียงติดอยู่กับด้านหน้าของคันทวน ใช้ดีดด้วยเขาสัตว์บาง ๆ สายกระจับปี่ทำด้วยไหมฟั่นเอ็น หรือ สายลวด กระจับปี่จัดอยู่ในประเภทพิณลูท

4.พิณพื้นบ้าน นิยมเล่นในภาคอีสาน เป็นเครื่องดีดทำด้วยไม้ กล่องเสียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมมน หรือคล้ายใบไม้ กว้างประมาณ 25เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-35เซนติเมตร หนาราว 7-10 เซนติเมตร มีช่องเสียงตรงกลางด้านหน้า คันพิณยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร ตอนปลายติดหัวโขนรูปต่าง ๆ ใช้สายลวด 2-4 สาย บางครั้งใช้ 2 คู่ มีนมแบ่งเสียงใช้ดีดด้วยแผ่นเบาบาง ๆ จัดอยู่ในประเภทพิณลูท

5.พิณไห พิณไหทำด้วยไหซองหรือไหกระเทียม ใช้เส้นยางหนา ๆ ขึงให้ตึงที่ปากไหเวลาเล่นใช้มือดึงเส้นยางให้สั่นเป็นเสียงทุ้มต่ำ